ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เค็นซะบุโร โอเอะ

เค็นซะบุโร โอเอะ (ญี่ปุ่น: ????? ?e Kenzabur? ?) (31 มกราคม ค.ศ. 1935 - ปัจจุบัน) ญี่ปุ่นเป็นนักเขียนคนสำคัญชาวญี่ปุ่นที่ได้รับอิทธิพลเป็นอันมากจากวรรณกรรมฝรั่งเศสและอเมริกัน และทฤษฎีวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเชิงการเมือง, สังคม และปรัชญาที่รวมทั้งปัญหาอาวุธนิวเคลียร์, ความไม่อยู่ในกรอบในแผนของสังคม (social non-conformism) และ อัตถิภาวนิยม (existentialism)

โอเอะได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 1994 เพราะเป็นผู้สร้างงานเขียนที่เป็น “โลกที่เกิดจากจินตนาการ ที่ชีวิตและความลึกลับรวมกันเป็นภาพพจน์อันแสดงถึงภาวะของความกระอักกระอ่วนของสถานภาพของความกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของสังคมปัจจุบัน”

โอเอะผู้เกิดที่หมู่บ้านบนเกาะชิโกะกุในประเทศญี่ปุ่นเป็นลูกคนหนึ่งในบรรดาพี่น้องเจ็ดคน บิดาเสียชีวิตเมื่อโอเอะอายุได้เก้าขวบ พออายุได้สิบแปดปีโอเอะก็เริ่มศึกษาวรรณคดีฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยโตเกียวโดยเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับงานเขียนของฌอง ปอล ซาร์ตร์ โอเอะเริ่มมีงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1957 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาซึ่งเป็นงานที่ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากงานเขียนร่วมสมัยของฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา

โอเอะสมรสในปี ค.ศ. 1960 ยุคะริภรรยาเป็นน้องสาวของผู้กำกับภาพยนตร์จุโซะ อิทะมิ ในปีเดียวกันโอเอะก็ได้มีโอกาสพบกับเหมา เจ๋อตงเมื่อเดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน จากนั้นก็เดินทางต่อไปยังรัสเซียและยุโรปในปีต่อมา และได้ไปพบปะกับฌอง ปอล ซาร์ตร์ในปารีส

ปัจจุบันโอเอะพำนักอยู่ในโตเกียว โอเอะมีบุตรสามคน บุตรชายคนโตฮิคะริ โอเอะผู้มีอาการกระทบกระเทือนทางสมอง (brain-damaged) มาตั้งแต่เกิดในปี ค.ศ. 1963 และพิการปรากฏในงานเขียนหลายชิ้นตลอดมาของโอเอะ

ในปี ค.ศ. 2004 โอเอะให้ชื่อและสนับสนุนการเป็นปฏิปักษ์ต่อข้อเสนอในการเปลี่ยนแปลงราชธรรมนูญของญี่ปุ่นที่วางไว้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1947 ทัศนคติของโอเอะในข้อนี้เป็นสิ่งที่สร้างความขัดแย้งโดยผู้ที่ต้องการให้ญี่ปุ่นเพิกถอนราชธรรมนูญที่ห้ามการใช้กำลังทหารในการยุติปัญหาความขัดแย้งของนานาประเทศ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิกถอนมาตรา 9 ของราชธรรมนูญ

ในปี ค.ศ. 2005 นายทหารผู้ที่เกษียณแล้วฟ้องโอเอะในข้อหาสร้างความเสียหายในบทความ “Okinawa Notes” (ค.ศ. 1970) ในบทความนี้โอเอะกล่าวว่านายทหารญึ่ปุ่นหว่านล้อมให้พลเรือนโอะกินะวะเป็นจำนวนมากทำการฆ่าตัวตายระหว่างการรุกของกองทัพฝ่ายพันธมิตรบนเกาะโอะกินะวะ ในปี ค.ศ. 1945 แต่ในปี ค.ศ. 2008 ศาลโอซะกะยกฟ้องข้อกล่าวหาทุกข้อต่อโอเอะ ในการให้คำตัดสินผู้พิพากษาโทธชิมะสะ ฟุคะมิกล่าวว่า “กองทัพญึ่ปุ่นมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเต็มตัวกับการฆ่าตัวตายหมู่” ในการพบปะกับผู้สื่อข่าวหลังการตัดสินโอเอะกล่าวว่า “ผู้พิพากษาอ่านงานเขียนของผมอย่างถูกต้อง”

งานเขียนของโอเอะแบ่งได้เป็นหลายหัวข้อ โอเอะให้คำอธิบายไม่นานหลังจากที่ได้ข่าวว่าจะได้รับรางวัลโนเบลว่า “ผมกำลังเขียนเกี่ยวกับความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์”

หลังจากงานเขียนเมื่อยังเป็นนักศึกษาที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยแล้ว ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 โอเอะก็เขียนงานหลายชิ้น (เช่น “Prize Catch” และ “ฆ่ามันซะ! อย่าให้มันโต” (Nip the Buds, Shoot the Kids)) ที่เน้นถึงชีวิตของเด็กน้อยที่อยู่บนเกาะชิโกะกุในโลกของโอเอะระหว่างที่เติบโตขึ้นมา ต่อมาโอเอะกล่าวว่าเด็กที่เขียนถึงเป็นแม่แบบ (archetype) ของความเป็นเด็ก (Child archetype) ของนักจิตวิทยาคาร์ล ยุง (Carl Jung) และ นักเทพวิทยากรีกคาร์ล เคเรยี (Karl Ker?nyi) ที่เป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง, เป็นได้ทั้งหญิงและชาย (hermaphrodism), ไม่เปลี่ยนแปลง และ มีความสัมพันธ์กับการเริ่มต้นและการสิ้นสุด ลักษณะสองอย่างแรกปรากฏในงานเขียนในช่วงแรก ส่วนอีกสองลักษณะมาปรากฏในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ 'idiot boy' ที่เขียนต่อมาหลังจากการเกิดของฮิคะริ

ระหว่างปี ค.ศ. 1958 ถึงปี ค.ศ. 1961 โอเอะพิมพ์งานหลายเล่มที่ผสานอุปมาทางเพศเกี่ยวกับการยึดครองญี่ปุ่น ที่โอเอะสรุปว่าโดยทั่วไปแล้วเป็นหัวเรื่องของ “ความสัมพันธ์ระหว่างชาวต่างประเทศในฐานะผู้มีอำนาจ [Z], ชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในเชิงภาวะที่ต่ำต้อย [X] และระหว่างชนสองชั้นก็จะเป็นกลุ่มที่สาม [Y] (ที่อาจจะเป็นโสเภณีที่รับงานเฉพาะจากคนต่างชาติหรือผู้แปล)” ในงานแต่ละชิ้นชาวญี่ปุ่น [X] จะเฉื่อยชา ไม่แสดงความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา หรือไม่แสดงการพัฒนาทางจิตใจและจิตวิญญาณ การบรรยายเรื่องเพศอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องต่างๆ ที่เขียนก่อให้เกิดการวิจารณ์กันอย่างขนานใหญ่ ซึ่งมาถึงจุดสูงสุดในเรื่อง “Our Times” ที่โอเอะกล่าวว่า “ตัวผมเองชอบนวนิยายเรื่องนี้[เพราะ]ผมไม่คิดว่าผมจะสามารถเขียนนวนิยายเรื่องอื่นที่เต็มไปด้วยคำที่เกี่ยวกับเรื่องเพศเท่านั้นได้อีก”

ช่วงต่อมาโอเอะก็เปลี่ยนจากเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศไปเป็นเรื่องของความโหดร้ายของสังคม งานที่พิมพ์ระหว่างปี ค.ศ. 1961 ถึงปี ค.ศ. 1964 เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมเชิงอัตถิภาวนิยม และ เชิงผจญภัย (Picaresque) ของ“ผู้ร้าย” (criminal rogue) และอวีรบุรุษ (Antihero) ผู้อยู่ริมนอกของสังคม (fringe of society) ที่ทำให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถเสนอข้อวิจารณ์สังคมได้ การที่โอเอะยอมรับว่า “ฮัคผจญภัย” โดยมาร์ค ทเวนเป็นนวนิยายเรื่องที่ชอบมากที่สุดทำให้เห็นอิทธิพลที่เกิดขึ้นในบริบทของการเขียนในช่วงระยะเวลานี้

ฮิคะริมีอิทธิพลเป็นอย่างมากใน “Father, Where are you Going?” (ไทย: พ่อ, พ่อจะไปไหน?), “Teach Us to Outgrow Our Madness” (ไทย: สอนเราให้หายจากความคลั่ง) และ “The Day He Himself Shall Wipe My Tears Away” (ไทย: จนจะถึงวันที่ลูกจะลบน้ำตาพ่อ) นวนิยายสามเรื่องที่เขียนจากมูลฐานเดียวกัน—บิดาผู้มีบุตรที่พิการพยายามที่จะสร้างชีวิตใหม่ให้กับพ่อของตนเองผู้ขังตัวเองจนตาย ความขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพ่อของตัวเอกเปรียบเทียบได้กับความไม่สามารถของลูกที่ไม่อาจจะเข้าใจตัวของเขาเองได้ การขาดข้อมูลเกี่ยวกับพ่อของตนเองทำให้ยากต่อทำให้ลงตัว และสามารถทำให้สร้างความซ้ำซ้อนได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และ “ความซ้ำซ้อนเป็นกระสายของการเขียนเรื่องต่างๆ ขึ้นได้” โดยทั่วไปแล้วโอเอะเชื่อว่านักเขียนนวนิยายจะเขียนนวนิยายที่กระตุ้นจินตนาการของผู้อ่านอยู่เสมอ

“Teach Us to Outgrow Our Madness” ใช้ตัวละครชื่อ 'โมะริ' สำหรับ 'ลูกงี่เง่า' (โอเอะใช้คำว่า 'idiot-son') ที่แปลได้ทั้ง 'ตาย' และ 'โง่เง่า' ในภาษาลาติน และ 'ป่า' ในภาษาญี่ปุ่น.ความเกี่ยวพันระหว่างเด็กพิการและป่ามาปรากฏขึ้นอีกในงานเขียนต่อมา เช่นในเรื่อง “The Waters Are Come in unto My Soul” (ไทย: และสายน้ำก็จะหลั่งไหลเข้ามาในวิญญาณของฉัน) และ “M/T and the narrative about the marvels of the forest” (ไทย: เอ็ม/ที และการบรรยายเกี่ยวกับความตื่นตาของป่า)

โอเอะเชื่อว่าเป็นนักเขียนญี่ปุ่นที่แท้จริง โดยกล่าวว่า “ผมมีความต้องการอยู่เสมอที่จะเขียนเรื่องราวของประเทศของเราเอง, สังคมของเราเอง และความรู้สึกเกี่ยวกับสถานะภาพของสังคมร่วมสมัย แต่ก็ยังคงมีความแตกต่างเป็นอย่างมากระหว่างวรรณกรรมร่วมสมัยและวรรณกรรมโบราณของญี่ปุ่น” ในปี ค.ศ. 1994 โอเอะอธิบายว่าตนเองมีความภูมิใจที่สถาบันสวีเดนให้เกียรติแก่วรรณกรรมญี่ปุ่นและมีความหวังว่ารางวัลที่ได้รับนี้จะเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมนักเขียนญี่ปุ่นผู้อื่น

นวนิยายขนาดสั้น “The Catch” (ไทย: จับได้) มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักบินชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่ถูกยิงตกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองโดยชาวบ้านชาวญี่ปุ่นได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยนะงิซะ โอะชิมะและออกฉายในปี ค.ศ. 1961

โอเอะหยุดเขียนไปสองปีขณะยุ่งอยู่กับการถูกฟ้องร้องและการพิจารณาคดีระหว่างปี ค.ศ. 2006 ถึงปี ค.ศ. 2008 The New York Timesรายงานว่าโอเอะกำลังเริ่มเขียนนวนิยายเรื่องใหม่ที่มีตัวละครที่มืพื้นฐานมาจากบิดาของตนเอง ผู้เป็นผู้สนับสนุนระบบจักรพรรดิอย่างแข็งขันผู้จมน้ำตายระหว่างน้ำท่วมระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวละครอีกตัวหนึ่งที่อาจจะมีเป็นหญิงสาวร่วมสมัยผู้ “ไม่ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่แสดงความเป็นญี่ปุ่น” และในฉากหนึ่งถึงกับพยายามทำลายระบบจักรพรรดิ ในนวนิยายเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับงานเขียนอื่น โอเอะเป็นปรมาจารย์ในการใช้วลีญี่ปุ่นที่กำกวม และเขียนเนื้อหาที่ไม่จะแจ้งว่าดีหรือร้ายแต่จะคาบระหว่างปรัชญาทั้งสอง

โอเอะมีผลงานเป็นเพียงจำนวนน้อยที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ส่วนใหญ่แล้วจะยังคงเป็นภาษาญี่ปุ่น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301